เวลาที่รู้สึกเครียด หดหู่ ซึมเศร้า ถ้าได้ฟังเพลงเพราะก็มักจะรู้สึกดีขึ้น เช่นเดียวกับบางเวลาที่จะรู้สึกฮึกเหิมขึ้นเมื่อได้ฟังบทเพลงที่มีจังหวะ เร้าใจหรือเนื้อหาเป็นเพลงปลุกใจ ทั้งหมดนี้เป็นอิทธิพลที่เกิดขึ้นจาก “ดนตรีบำบัด” หรือศาสตร์ที่ว่าด้วยการนำดนตรีหรือองค์ประกอบอื่นทางดนตรีมาประยุกต์ใช้ เพื่อปรับเปลี่ยน พัฒนา และคงรักษาไว้ซึ่งสุขภาวะของร่างกาย จิตใจ อารมณ์
อาจารย์วุฒิชัย ไชยรินคำ รองอธิการ บดีฝ่ายกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยพะเยา กล่าวว่า ตามหลักทฤษฎีของดนตรีบำบัดนั้น สามารถใช้ดนตรีมาช่วยปรับอารมณ์ความรู้สึกและจิตใจของร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นจากการฟังเพลง ร้องเพลง เล่นเครื่องดนตรีต่าง ๆ หรือ การขยับร่างกายตามจังหวะเพลง ซึ่งทางกองกิจการนิสิต ม.พะเยา เห็นความสำคัญของดนตรีบำบัด ที่ไม่เพียงใช้สำหรับการบำบัดรักษาโรคแต่ยังต้องการให้นิสิตได้รู้จักการนำ ดนตรีบำบัดมาใช้ในชีวิตประจำวัน และยังสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยในการพัฒนานิสิตให้มีอัตลักษณ์ทั้งใน เรื่องสุขภาพ บุคลิกภาพ และสุนทรียภาพ จึงเป็นที่มาของโครงการพัฒนาประสบการณ์วิชาการและวิชาชีพแก่นิสิต หัวข้อ ’ดนตรีบำบัดจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ“ โดยเชิญอาจารย์แพทย์
ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีบำบัดจากคณะแพทย ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาให้ความรู้ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติจริง มีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ นิสิตกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ รวมถึงนิสิตคณะอื่น ๆ ที่สนใจ นอกจากนี้ได้เชิญแพทย์และพยาบาลในพื้นที่เข้าร่วมเพื่อรับฟังแนว ทางการรักษาโรคด้วยดนตรีบำบัดด้วย
’สถานการณ์บ้านเมืองทุกวันนี้อาจส่งผลให้นิสิตเกิดความตึงเครียดขึ้น หรือแม้แต่ในการเรียนและการใช้ชีวิตประจำวันก็อาจมีความเครียดเกิดขึ้นได้ ทุกเวลา ดังนั้นเป้าหมายของการจัดโครงการนี้ขึ้นไม่เพียงทำให้นิสิตมีความรู้และความ สามารถนำอิทธิพลของเสียงดนตรีไปใช้ในการบำบัดผู้ป่วยเท่านั้น แต่จุดสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการนำดนตรีบำบัดไปใช้ในชีวิตประจำวันของตัวเอง ด้วย“
อาจารย์วุฒิชัย บอกว่า การใช้ดนตรีบำบัดเพื่อการรักษาโรคสำหรับเมืองไทยยังไม่เป็นที่แพร่หลายมาก นักเพราะขาดผู้เชี่ยวชาญ แต่ทางการแพทย์ก็เริ่มเห็นประโยชน์ของดนตรีบำบัดมากขึ้น ในฐานะเป็นการรักษาทางเลือกเช่นเดียวกับการฝังเข็ม การนวด หรือกดจุด ทั้งนี้เพราะการใช้ยามากเกินไปนอกจากส่งผลเสียต่อร่างกายผู้ป่วยแล้วยังทำ ให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคของประเทศพุ่งสูงขึ้นมากด้วย ทั้งนี้ในการอบรมมีทั้งการบรรยายพื้นฐานการเลือกดนตรีให้เข้ากับผู้ป่วยแต่ ละประเภทและลงลึกถึงความสัมพันธ์ระหว่างสมองกับเสียงดนตรีที่มีผลให้เกิด อารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ และในช่วงท้ายของการอบรมนิสิตยังได้ร่วมทดลองฟังดนตรีเพื่อบำบัดความรู้สึก และอารมณ์ต่าง ๆ ของตัวเอง
น.ส.พัชราภรณ์ เรียนติ๊บ หรือ แหวน นิสิตชั้นปีที่ 1 สาขาวิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ ม.พะเยา เล่าว่า หลังจากได้เข้าร่วมโครงการฯ ทำให้รู้ว่าในการบำบัดผู้ป่วยสามารถใช้ดนตรีเข้ามาร่วมด้วย ไม่จำเป็นต้องใช้เฉพาะเครื่องมือในการทำกายภาพบำบัดเพียงอย่างเดียว โดยตนรู้สึกได้ทันทีว่าแนวทางการรักษาด้วยดนตรีบำบัดนั้นได้ผลจริง เพราะเกิดขึ้นกับตัวเองในขณะที่ฟังดนตรีประเภทต่าง ๆ ทำให้รู้สึกมีความสุข จนถึงทุกวันนี้ก็ใช้แนวทางดนตรีบำบัดกับตัวเอง คือ เปิดเพลงฟังที่หอพักหลังเลิกเรียนหรือก่อนออกไปเรียนหนังสือบางครั้ง สิ่งที่ได้คือ
ความผ่อนคลาย
“ปกติเป็นคนฟังเพลงได้ทุกแนวอยู่แล้ว แต่ไม่ค่อยได้ใส่ใจรายละเอียดอะไรมากนัก แต่พอมีความรู้เรื่องดนตรีบำบัด ทำให้การฟังเพลงในระยะหลัง ๆ มานี้ รู้สึกมีความสุขกับเนื้อร้อง ทำนองต่าง ๆ มากขึ้น และผ่อนคลายมากขึ้นด้วย”
สำหรับบุคคลทั่วไปที่อยากใช้ดนตรีมาบำบัดอารมณ์ความรู้สึกบ้าง ไม่ยากเลย เพียงแค่เลือกฟังดนตรีชนิดใดก็ได้ตามความชอบส่วนบุคคล เมื่อฟังแล้วได้ความรู้สึกสุขใจนั่นก็คือดนตรีบำบัดอารมณ์ความรู้สึกแล้ว นั่นเอง.